ความเป็นมาของหมอลำ

หมอลำ เริ่มแรกเกิดจากการชุมนุม ลูกหลาน มีผู้เฒ่าผู้แก่นั่งเล่านิทานเกี่ยวกับ จารีตประเพณีและศีลธรรมอันดี เมื่อลูกหลาน มาฟังกันมากนิยมนั่งเล่าไม่เหมาะสม ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่ มีในวรรณคดี เช่น เรื่องการเกด สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าทางก็ ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดง

ท่าทางเป็นพระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การขับลำที่ ต้องใช้สำ เนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบการเล่า และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุก ครื้นเครง ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายดูไม่มี รสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหาผู้หญิงมา แสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องต่างๆที่เล่า ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิง แฝงคติสอนใจ  นำเอาธรรมสอดแทรกในเนื้อเรื่อง

โบราณ นำมาแต่งเป็นบทกลอนให้มีความไพเราะ เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจให้กับชุมชโดยแทรกตำนาน หรือคำสอนต่างๆ เข้าไป ในบทกลอน ของกลอนลำ     กลอนลำคล้ายกับกลอนแปด ร่ายยาว พัฒนาการของหมอลำนั้นจากการมีหมอลำฝ่ายชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความ

สนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มี เท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก มี นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน โดยเริ่มจากหมอลำโบราณซึ่งเป็นการเล่า นิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทางและดนตรีประกอบ จากนั้นจึง พัฒนาการมาเป็นหมอลำกลอนหรือหมอลำ คู่ การลำ มีหมอลำ ชายหญิงสองคน สลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบคือแคน


ประเภทหมอลำ

ลำโบราณ
         เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ

ลำคู่หรือลำกลอน
         เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้



ลำหมู่ ลำเรื่องต่อกลอน
       เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ

        ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง
        หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า         "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"